หนังสือ “ทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตสำหรับผู้เรียนในโลกยุคใหม่: รวมพลังสร้างกรอบทักษะ ระบบนิเวศการเรียนรู้ และแนวทางการขับเคลื่อน” โดย รศ. ดร.พร้อมพิไล บัวสุวรรณ ถือได้ว่าเป็นหนังสือที่มีคุณประโยชน์ยิ่งต่อการดำเนินการแปลงโฉมระบบการศึกษาไทยให้สามารถหนุนผู้เรียนให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ขั้นสูงและครบด้าน
หมวดหมู่ : หนังสือ(Book) , 
Share
รายละเอียดหนังสือ
ชื่อหนังสือ : ทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตสำหรับผู้เรียนในโลกยุคใหม่
ผู้เขียน : รศ. ดร.พร้อมพิไล บัวสุวรรณ
ขนาด : 18.5 x 24.5. เซนติเมตร
จำนวนหน้า : 472 หน้า
กระดาษเนื้อใน : กระดาษถนอมสายตา (Green Read) 75 แกรม พิมพ์ขาวดำ
กระดาษปก : อาร์ตการ์ด 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบด้าน สปอตยูวี
ราคา : 459 บาท
ISBN : 978-616-8325-30-8
Barcode : 978-616-8325-30-8
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์วิช
เดือนที่ออก : สิงหาคม 2567
ประเภท : การบริหารการศึกษา
เป็นหนังสือที่สะท้อนภาพความซับซ้อนของการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน และของระบบการศึกษาได้อย่างดียิ่ง โดยตีความตกผลึกทั้งจากผลงานวิจัยในต่างประเทศ ผลงานวิจัยในประเทศไทยของนักวิจัยทางการศึกษาท่านอื่น และที่สำคัญจากผลงานของผู้เขียนเอง ที่ได้ทำงานวิจัยร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และร่วมกับองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
เป็นหนังสือที่ชี้ให้เห็นว่า ระบบการศึกษาไทยต้องการ “ยกเครื่อง” อย่างขนานใหญ่ เพื่อส่งมอบผลลัพธ์การเรียนรู้ตาม “ทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตสำหรับผู้เรียนในโลกยุคใหม่” ตามที่เสนอไว้อย่างครบถ้วนในหนังสือเล่มนี้บทที่ 2 และ 3 ซึ่งตีความได้ว่า ต้องเป็นระบบการศึกษาที่ส่งมอบผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ตามเกณฑ์สมรรถนะพื้นฐาน และสมรรถนะเฉพาะด้านตามที่กำหนด รวมทั้งมีการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดด้วย
ผู้เขียนได้เสนอทักษะสำคัญ 5 ประการเพื่อบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ (ตามในบทที่ 2 และ 3) ในบทที่ 4-8 อันได้แก่ ทักษะการเรียนรู้เพื่ออนาคต ทักษะการจัดการตนเอง ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสร้างสุขแห่งชีวิต และทักษะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตามลำดับ เท่ากับ 5 บทนี้ในหนังสือ เสนอว่า อะไร คือทักษะแกน หรือเป็นแก่นหรือหัวใจของการจัดการศึกษา
เมื่อตั้งคำถาม อะไร ใน 5 บทดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนได้ให้คำตอบ ทำอย่างไร ในบทที่ 9-11 ของหนังสือ ในลักษณะของการดำเนินการอย่างซับซ้อน มีนักเรียนเป็นผู้ร่วมออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติในสภาพความเป็นจริงของชีวิต ที่ผมขอเสนอว่า เมื่อนักเรียนได้ดำเนินการปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้แล้ว ครูควรจัดให้นักเรียนได้สะท้อนคิด (reflection) ร่วมกันเป็นระยะ ๆ เพื่อตกผลึกสิ่งที่สังเกตเห็นจากปฏิบัติการนั้นสู่หลักการเชิงนามธรรมตามเป้าหมายการเรียนรู้ของบทเรียนนั้น และฝึกจริต “เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง” เพื่อนำหลักการที่ตกผลึกได้ไปทดลองต่อ ตามแนวทางของ Kolb’s Experiential Learning Cycle (www.gotoknow.org/posts/713644) และตามแนวทางของการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตามที่ผมเสนอไว้ในหนังสือชุด การเรียนรู้ ‘ขั้นสูง’ จากประสบการณ์ (www.gotknow.org/posts/717659)
ครูก็ควรตั้งวงสะท้อนคิดในทำนองเดียวกัน เพื่อตกผลึกหลักการทำหน้าที่ครู ในการทำหน้าที่ตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกสะท้อนคิดหลากหลายแบบ หลากหลายมุมมอง และรับฟังซึ่งกันและกัน เพื่อให้โรงเรียนเป็นชุมชนเรียนรู้ (www.gotoknow.org/posts/716870)